บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

Anisometropia : ค่าสายตาสองข้างที่ไม่เท่ากัน

รูปภาพ
Anisometropia : ค่าสายตาสองข้างที่ไม่เท่ากัน เป็นปัญหาค่าสายตาที่ค่อนข้างซับซ้อน บางคนมีสายตาทั้งสองข้างชนิดเดียวกัน แต่กลับมีค่าสายตาไม่เท่ากัน เช่น ข้างหนึ่งสั้น -1.00 D แต่อีกข้างกลับสั้น -3.50 D, บางคนอาจมีสายตายาวข้างหนึ่ง +0.50 D แต่อีกข้างมีค่าสายตา +2.50 D, ในบางคนอาจมีสายตาข้างหนึ่งปกติ แต่อีกข้างกลับสั้น -2.00 D  หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่มีสายตาชนิดที่แตกต่างกันไปเลยกลุ่มนี้เรียกว่า Antimetropia โดยมีข้างหนึ่งเป็นสายตาสั้น อีกข้างเป็นสายตายาว เช่น ข้างขวาสั้น -3.50 D อีกข้างกลับยาว +1.00 D อาการของค่าสายตาชนิดนี้จะมีหลากหลาย บางคนอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะได้รับการตรวจจึงพบความผิดปกติ เช่น -           อาจมีอาการไม่สบายตาจากขนาดของภาพที่ต่างกันบนจอตา Retina Image Difference -           คนที่มีค่าสายตาข้างหนึ่งด้อยกว่าอีกข้างอย่างมากตั้งแต่เด็ก และไม่ได้รับการแก้ไข ตาข้างนั้นอาจจะตัดการรับรูปภาพไปเลย เรียกว่า Binocular Suppression คือการมองด้วยตาเพียงข้างเดียว หาก...

Tokai Lutina

รูปภาพ
🇯🇵 Tokai Lutina เลนส์ป้องกันแสงสีฟ้าที่ดีที่สุดในโลกสำหรับคนยุคดิจิตอล เลนส์ที่ตัดเฉพาะ *แสงเป็นอันตราย (โค๊ทที่ผิวเลนส์เป็นสีเขียว) ไม่ทำให้สีผิดเพี้ยน ภาพที่มองผ่านเลนส์เป็นธรรมชาติ สีเลนส์ไม่อมเหลือง *แสงที่เป็นอันตราย หรือแสงสีฟ้าอมม่วง ที่อยู่ในช่วงคลื่น HEV 453nm (ไม่ใช่แสงสีฟ้าทั้งหมด) เป็นอันตรายที่สุดต่อดวงตา หลายงานวิจัยยังพบว่า การได้รับคลื่นแสงชนิดนี้เป็นเวลานาน ส่งผลต่อการทำลาย Retina ได้ Lutina เลนส์ที่ดีที่สุดในโลก สุดยอดเลนส์เลนส์จากญี่ปุ่นโดย Tokai มาทำความรู้จักเลนส์ Lutina กันครับว่าพิเศษอย่างไร ด้วยการออกแบบเลนส์ระดับ High-Quality และ Tokai เป็นผู้ผลิตเลนส์บางที่สุดในโลกในขณะนี้ (INDEX 1.6) ลดการบิดเบือน ใช้งานง่ายแม้การเหลือบมอง   พิเศษกว่านั้นเลนส์ Tokai Lutina ใช้นวัตกรรมการใส่สารป้องกันคลื่นแสงอันตรายจากแสงสีฟ้าเข้าไปที่เนื้อเลนส์ การมองเห็นสีไม่ผิดเพี้ยน ไม่ลอก สามารถป้องกันแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตาได้ถึง 94% ต่างจากเลนส์ทั่วไปที่ใช้เคลือบสารสีฟ้าเฉพาะทีผิวหน้าเลนส์  เท่านั้น แน่นอนว่าปกป้องรังสี UV ได้ 100%, lutina  เหมาะส...

จริงหรือหลอก แสงสีฟ้า (Blue Light) อันตรายแค่ไหน?

รูปภาพ
แสงสีน้ำเงินอันตรายแค่ไหน? แสงสีน้ำเงิน มีทั้งประโยชน์ และ โทษ แสงที่เดินทางผ่านเข้ามาในดวงตาของเรามีประโยชน์ในการมองเห็น แต่ก็มีพิษทางชีวภาพเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ Blue Light “แสงสีน้ำเงินอมม่วง” เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น ซึ่งมีอานุภาพอันตราย ในขณะ “แสงสีน้ำเงินอมเขียว” มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่า กลับมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ศาตราจารย์ Jhon Marshall อธิบายไว้ว่า อิทธพลของแสงเป็นพื้นฐานของระบบการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนาฬิกาชีวิต และวงจรการหลับตื่น (Circadian Rhythm) แต่อย่างไรก็ตามดวงตามนุษย์ก็มีวิวัฒนาการกลไกที่สามารถจัดการภัยที่แฝงมากับแสงเช่นกัน *เลนส์ตาจะค่อยๆเหลืองโดยตามธรรมชาติ แต่อาจเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจกได้ การมองเห็น และ พิษทางชีวภาพของแสง ดวงตาเป็นอวัยวะเดียวที่ยอมให้แสงส่องผ่านเข้าไปได้ลึกสุด ซึ่งแสงต้องเดินทางผ่านชิ้นส่วนต่างๆจากด้านหน้า ตั้งแต่ กระจกตา, ของเหลวในตา, เลนส์ตา, วุ้นในตา ทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นตัวคัดกรองแสง เช่น UVB จะถูกดูดซับเกือบทั้งหมดไว้ที่กระจกตา ในขณะที่ UBA จะถูกดูดซับไว้ที่เลนส์ตา แสงที่เหลือส่วนหนึ่งจะเดินทางต่อไปยัง Retina (จอรับภาพ)...