จริงหรือหลอก แสงสีฟ้า (Blue Light) อันตรายแค่ไหน?


แสงสีน้ำเงินอันตรายแค่ไหน?
แสงสีน้ำเงิน มีทั้งประโยชน์ และ โทษ
แสงที่เดินทางผ่านเข้ามาในดวงตาของเรามีประโยชน์ในการมองเห็น แต่ก็มีพิษทางชีวภาพเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ Blue Light “แสงสีน้ำเงินอมม่วง” เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น ซึ่งมีอานุภาพอันตราย ในขณะ “แสงสีน้ำเงินอมเขียว” มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่า กลับมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ศาตราจารย์ Jhon Marshall อธิบายไว้ว่า อิทธพลของแสงเป็นพื้นฐานของระบบการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนาฬิกาชีวิต และวงจรการหลับตื่น (Circadian Rhythm) แต่อย่างไรก็ตามดวงตามนุษย์ก็มีวิวัฒนาการกลไกที่สามารถจัดการภัยที่แฝงมากับแสงเช่นกัน *เลนส์ตาจะค่อยๆเหลืองโดยตามธรรมชาติ แต่อาจเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจกได้
การมองเห็น และ พิษทางชีวภาพของแสง
ดวงตาเป็นอวัยวะเดียวที่ยอมให้แสงส่องผ่านเข้าไปได้ลึกสุด ซึ่งแสงต้องเดินทางผ่านชิ้นส่วนต่างๆจากด้านหน้า ตั้งแต่ กระจกตา, ของเหลวในตา, เลนส์ตา, วุ้นในตา ทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นตัวคัดกรองแสง เช่น UVB จะถูกดูดซับเกือบทั้งหมดไว้ที่กระจกตา ในขณะที่ UBA จะถูกดูดซับไว้ที่เลนส์ตา แสงที่เหลือส่วนหนึ่งจะเดินทางต่อไปยัง Retina (จอรับภาพ) ตามรูป


แสงที่เดินทางผ่านเข้าสู่ดวงตาเรานั้นมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ
  1. Visible light แสงที่ตามองเห็นได้ มีความยาวคลื่น 400-800 nm
  2. Infrared A มีความยาวคลื่น 800-1400 nm
แสงดังกล่าวจะผ่านเข้าสู่ Retina ได้อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดการสะสมไปเรื่อยๆ นานวันจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกำลังการหักเห (Refractive power) ได้เช่นกัน เหมือนการที่เราไปยืนกลางแจ้งให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าดวงตาเราได้โดยตรง จึงเป็นพิษทางชีวภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นในกระบวนการมองเห็นของเราเช่นกัน

อันตรายของ : Blue Light แสงสีน้ำเงินอมม่วง

เมื่อร้อยกว่าปีก่อนนักวิทยาศาสตร์ชื่อ กาลิเลโอ ส่องดูแสงพระอาทิตย์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ด้วยตาเปล่า ทำให้เรตินาถูกทำลาย แต่ก็ยังไม่เป็นที่สนใจจนกระทั่งเหตุจากสงคราม พบว่า เรตินาของทหารถูกทำลายจากการได้รับแสงจ้าจากวัตถุระเบิด จึงได้เริ่มจริงจังกับการวิจัยเรื่องนี้ ในปี 1960 ได้มีการนำ Laser มาใช้ในวงการทหาร จึงเริ่มมีการหาเครื่องป้องกันดวงตาจากแสง Laser เนื่องจากแสงที่ถูกยิงออกมานั้นมีประสิทธิภาพอันตรายจากคลื่นแสงสีน้ำเงินสูง คลื่นแสงที่ส่องออกมานั้นมีความยาวคลื่น 440 nm ก่อให้เกิดต้อกระจกได้

งานวิจัยในปัจจะบันยังพบว่า ความยาวคลื่นของแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายที่สุดคือ 453 nm ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตราย คือ 415 - 455 nm หลายๆงานวิจัยยังพบว่า การได้รับคลื่นแสงระดับต่ำๆ เป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลให้เกิดการทำลาย Retina ได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคลื่นแสงสีน้ำเงินอมม่วง

จากรูป Fig 2, 3 การวิจัยกลไกการทำลาย Retina ของแสงสีน้ำเงินแบ่งเป็น
Type 1 แสดงการได้รับแสงแบบสะสมไปเรื่อยๆ ทีละน้อยๆ แต่นาน และ
Type 2 คือการได้รับแบบฉับพลัน
พบว่าวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในยุคดิจิตอล จะได้รับการสะสมของแสงสีน้ำเงินแบบ Type 1 ดูจากกราฟจะพบว่า Retina ได้รับแสงช่วงคลื่น 415 - 455 nm มากกว่าการ Type 2 คือการได้รับแสงแบบเฉียบพลัน เสี่ยงต่อการถูกทำลายเซลล์ และเกี่ยวข้องกับการสร้าง Lipofucin เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรค AMD (โรคจอประสาทตาเสื่อม)

ประโยชน์ของ : แสงสีน้ำเงินอมเขียว


ช่วงความยาวคลื่น 470 nm หรือแสงสีน้ำเงินอมเขียว มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นตัวเริ่มต้นของระบบ Circadian rhythm จากการศึกษาพบว่า ในส่วนของ Retinal ganglion cells ที่ประกอบด้วย pigment และ melanopsin มีหน้าที่ดูดซับแสงสีน้ำเงิน ส่งไปให้สมองรับรู้และควบคุมการหลัง melatonin ในกระแสเลือด เมื่อ Retina ได้รับการกระตุ้นจากแสงสีน้ำเงิน melanopsin จะเกิดการยับยั้งการหลังของ melatonin ทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ในทางกลับกันหาก Retina ไม่ได้รับการกระตุ้นจากแสง melatonin จะถูกสั่งให้ผลิตเพิ่ม ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากนอน
“แสงสีน้ำเงินช่วงความยาวคลื่น 470 nm มีความสำคัญต่อการหลับ - ตื่น ของระบบร่างกาย แต่ช่วงความยาวคลื่น 440 nm ช่วงคาบเกี่ยวเพียงนิดเดียวเท่านั้นกลับเป็นอันตรายอย่างมาก”
ปัจจุบันเราสามารถพบเจอแสงได้ตลอดทั้งวันและคืน จากแสงไฟประดิษฐ์ หรือ LED ซึ่งหลอดไฟเหล่านี้จะปล่อยแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายออกมามาก ปัจจุบันทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของโรคตา เราได้เรียนรู้จากแพทย์ผิวหนังว่า แสง UV เป็นแสงที่อันตราย จึงสนับสนุนให้ป้องกันดวงตาด้วยการส่วมแว่นกันแดด ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาโรคตาต่างๆได้อย่างมาก แต่ในทางกลับกัน การส่วมแว่นกันแดดนั้นทำให้รูม่านตาขยาย ทำให้แสงสีน้ำเงินเข้าสู้ดวงตาได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงเป็นที่มาของแว่นใสๆ ที่เราสามารถใส่ได้ทุกวัน และสามารถป้องกัน UVA และแสงสีน้ำเงินอมม่วงที่เป็นอันตรายต่อดวงตาได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : สมาคมแว่นตาแห่งประเทศไทย


Tokai Lutina

  เลนส์ Tokai Lutina ใช้การฉีดสารป้องกันคลื่นแสงอันตรายจากแสงสีฟ้าเข้าไปที่เนื้อเลนส์ การมองเห็นสีไม่ผิดเพี้ยน ไม่ลอก สามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ถึง 92% 
ต่างจากเลนส์ทั่วไปที่ใช้เคลือบสารสีฟ้าเฉพาะที่ผิวหน้าเลนส์ ซึ้งป้องกันได้เพียง 40% เท่านั้น
🔹 เลนส์ Tokai Lutina เหมาะกับผู้ที่ทำงานหน้าคอมฯ หรือแท็บเล็ท สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน การมองใกล้ไกลรู้สึกสบายตา ความคมชัดระกับ HD ทำความสะอาดง่ายเมื่อเทียบกับเลนส์ทั่วไป ป้องกันรอยขีดข่วน เป็นเลนส์ย่อบาง 1.60 น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกสามารถเจาะจูได้ เนื้อเลนส์มีความใสมากเหมือนไม่ได้ใส่แว่นเลยทีเดียว 👍 
Tokai Lutina made in japan 💯 %

👓 สามารถเข้ามาตรวจเช็คสายตา หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
Eyes love you optic สาขา รพ.พญาไท นวมินทร์ ชั้นใต้ดิน
โทร.095-598-9878
Line : @eyesloveyouoptic
#เราดูแลสายตาคุณเหมือนคนในครอบครับ #เพราะว่าอายเลิฟยู#eyesloveyouoptic




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Density Care เลน์ป้องกันแสงสีฟ้าออกแดดเปลี่ยนสี

Duralens infinity : โปรเกรสซีฟเลนส์ขั้นสูง ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น จบในเลนส์เดียว

เลนส์โปรเกรสซีฟ ใช้งานยากจริงหรือไม่ Tokai Progressive lenses มีคำตอบ